วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นวัคซีนที่มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19ในช่วงก่อนเกิดการระบาดทั่วของโควิด-19 งานพัฒนาวัคซีนสำหรับโรคไวรัสโคโรนาต่าง ๆ รวมทั้งกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส หรือ SARS) และโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส หรือ MERS) ได้สะสมความรู้พอสมควรเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของไวรัสโคโรนาซึ่งได้ช่วยเร่งการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีต่าง ๆ สำหรับวัคซีนโควิด-19 เมื่อต้นปี 2020จนถึงกลางเดือนธันวาคม 2020 มีวัคซีนแคนดิเดต 57 อย่างที่ได้เข้าสู่การวิจัยเพื่อใช้รักษาแล้ว คือ 40 อย่างกำลังวิจัยในระยะที่ 1-2 และ 17 อย่างในระยะ 2-3[1][2][3][4]โดยวัคซีนที่ทดลองในระยะที่ 3 หลายอย่างได้แสดงประสิทธิศักย์ (efficacy) ป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการถึงอัตราร้อยละ 95[5]องค์กรควบคุมทางสาธารณสุขของรัฐต่าง ๆ ได้อนุมัติให้ฉีดวัคซีนแก่ประชาชนแล้ว 6 อย่างรวมทั้งวัคซีนอาร์เอ็นเอ (Tozinameran ของบริษัทไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทคและ mRNA-1273 ของมอเดิร์นา), วัคซีนที่ใช้ไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้ว (BBIBP-CorV ของไซโนฟาร์มและ CoronaVac ของไซโนแว็ก) และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นเว็กเตอร์ (Gam-COVID-Vac หรือ สปุตนิก 5 ของ Gamaleya Research Institute และ AZD1222 ของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด/แอสตราเซเนกา)ประเทศต่าง ๆ มีแผนแจกจำหน่ายวัคซีนโดยจัดลำดับการให้ตามกลุ่มที่เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้สูงอายุ และกลุ่มที่เสี่ยงติดแล้วแพร่โรค เช่น บุคลากรทางแพทย์[6]จนถึงวันที่ 3 มกราคม 2021 องค์กรสาธารณสุขรวม ๆ กันทั่วโลกรายงานว่า ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ถึง 12.3 ล้านโดสแล้ว[7]ผู้ผลิต 3 รายที่มีกำลังผลิตมากที่สุดคือ ไฟเซอร์ มอเดิร์นา และแอสตราเซเนการะบุว่าจะสามารถผลิตวัคซีนได้ 5,300 ล้านโดสในปี 2021 ซึ่งสามารถให้แก่คน 3,000 ล้านคนทั่วโลกโดยแต่ละคนจะต้องได้สองโดสเพื่อให้สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด[8]แต่จนถึงเดือนธันวาคม ประเทศต่าง ๆ ก็ได้สั่งวัคซีนล่วงหน้าเกิน 10,000 ล้านโดสแล้ว[8]โดยครึ่งหนึ่งเป็นประเทศรายได้สูงแม้จะมีประชากรเพียงร้อยละ 14 ของโลก[9]เพราะความต้องการวัคซีนสูงเยี่ยงนี้ในช่วงปี 2020-21[9]ประชาชนของประเทศกำลังพัฒนาที่จัดว่ามีรายได้น้อยอาจไม่ได้รับวัคซีนจากผู้ผลิตเหล่านี้จนถึงปี 2023 หรือ 2024 จึงทำให้โปรแกรมโคแว็กซ์จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ส่งวัคซีนได้ทั่วถึงกันทั่วโลก[8][9]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 http://www.chictr.org.cn/showprojen.aspx?proj=5552... http://www.chictr.org.cn/showprojen.aspx?proj=5665... http://www.cloverbiopharma.com/index.php?m=content... http://www.pmlive.com/pharma_news/gsk,_medicago_la... http://www.walvax.com/wosen/28.aspx //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14667748 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14676007 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15655773 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15885812 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16453264